วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

หลวงพ่อแก่นจันทร์


อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อแก่นจันทร์ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร วัสดุตั้งแต่พระเศียรลงมาจนถึงพระอังสะหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ช่วงล่างทำจากไม้แก่นจันทร์ สูง ๒.๒๖ เมตร (๕ ศอก)ศิลปะอยุธยาสร้างขึ้นจากไม้แกะสลัก โดยกล่าวกัน ว่ามีชายคนหนึ่งเข้าไปในป่าแล้วถูกเสือไล่กัด หนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ใหญ่ เสือเฝ้าอยู่ที่โคนต้นไม้ ชายคนนั้นไม่กล้าลงจึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า "ถ้ารอดพ้นจากอันตรายถูกเสือกัดในครั้งนี้ จะนำเอาต้นไม้ที่ได้อาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา" เมื่ออธิษฐานแล้วปรากฏว่าเสือหายไป จึงลงจากต้นไม้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ต่อมาชักชวนชาวบ้านไปตัดต้นไม้เพื่อนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป เมื่อได้พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ทราบว่าเป็นไม้จันทร์หอมที่หายากและมีราคา ได้พาช่างผู้มีฝีมือมาแกะสลัก และประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวงเพื่อให้คนได้เคารพกราบไหว้ อีกประวัติหนึ่งกล่าวว่า หลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยน้ำมา สันนิษฐานว่าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมมาถึงบ้านแก่งหลวง ได้พัดพาเอาหลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยตามลำน้ำจนถึงวัดช่องลม ท่านได้ลอยมาวนอยู่ที่หน้าวัด ไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว เจ้าอาวาสวัดช่องลมในสมัยนั้นได้บอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาช่วยกัน กล่าวอัญเชิญชะลอองค์พระท่านขึ้นมาจากแม่น้ำ ประดิษฐานไว้ในวัดช่องลมและได้ทำพิธีสมโภชในเวลาต่อมา และทุกๆ ปีจะมีพิธีแห่หลวงพ่อแก่นจันทร์รอบตลาดในวันสงกรานต์ และในวันตรุษจีนจะมีงานประจำปีสักการะองค์หลวงพ่อแก่นจันทร์

2 ความคิดเห็น:

salinrat กล่าวว่า...

อยากเข้าไปกราบหลวงพ่อแก่นจันทร์

salinrat กล่าวว่า...

...