วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประวัติจังหวัดราชบุรี

จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง " เมืองพระราชา"
ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษา และขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ใน บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรีพระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญ
และ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัยดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทาง
ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี
ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อแก่นจันทร์


อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อแก่นจันทร์ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร วัสดุตั้งแต่พระเศียรลงมาจนถึงพระอังสะหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ช่วงล่างทำจากไม้แก่นจันทร์ สูง ๒.๒๖ เมตร (๕ ศอก)ศิลปะอยุธยาสร้างขึ้นจากไม้แกะสลัก โดยกล่าวกัน ว่ามีชายคนหนึ่งเข้าไปในป่าแล้วถูกเสือไล่กัด หนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ใหญ่ เสือเฝ้าอยู่ที่โคนต้นไม้ ชายคนนั้นไม่กล้าลงจึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า "ถ้ารอดพ้นจากอันตรายถูกเสือกัดในครั้งนี้ จะนำเอาต้นไม้ที่ได้อาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา" เมื่ออธิษฐานแล้วปรากฏว่าเสือหายไป จึงลงจากต้นไม้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ต่อมาชักชวนชาวบ้านไปตัดต้นไม้เพื่อนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป เมื่อได้พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ทราบว่าเป็นไม้จันทร์หอมที่หายากและมีราคา ได้พาช่างผู้มีฝีมือมาแกะสลัก และประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวงเพื่อให้คนได้เคารพกราบไหว้ อีกประวัติหนึ่งกล่าวว่า หลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยน้ำมา สันนิษฐานว่าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมมาถึงบ้านแก่งหลวง ได้พัดพาเอาหลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยตามลำน้ำจนถึงวัดช่องลม ท่านได้ลอยมาวนอยู่ที่หน้าวัด ไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว เจ้าอาวาสวัดช่องลมในสมัยนั้นได้บอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาช่วยกัน กล่าวอัญเชิญชะลอองค์พระท่านขึ้นมาจากแม่น้ำ ประดิษฐานไว้ในวัดช่องลมและได้ทำพิธีสมโภชในเวลาต่อมา และทุกๆ ปีจะมีพิธีแห่หลวงพ่อแก่นจันทร์รอบตลาดในวันสงกรานต์ และในวันตรุษจีนจะมีงานประจำปีสักการะองค์หลวงพ่อแก่นจันทร์

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ข้อมูล
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี อยู่ในบริเวณบ้านพักทหารช่างราชบุรี ค่ายภาณุรังษี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรีปัจจุบันลักษณะเด่น เป็นหลักเมืองเก่าที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิมที่เคยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกไปตั้งที่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก เพื่อให้ปลอดภัยจากการรุกราน และป้งอกันข้าศึกได้โดยง่ายกิจกรรม เปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการะทุกวัน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ กรมการทหารช่าง โทร. 0-3233-7388, 0-3233-7811
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี และอยู่ตรงข้ามกับค่ายภาณุรังษี

วัดเกาะศาลพระ

วัดเกาะศาลพระเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของตำบลเกาะศาลาพระมีโบสถ์เก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี นับเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของตำบลเกาะศาลพระ ปัจจุบันไม่สามารถใช้การได้ทางวัดจึงได้สร้างโบสถขึ้นมาใหม่ มีลักษณะสวยงามมาก วัดนี้ตั้งอยู่ หมู่8 ต.เกาะศาลพระ (บ้านเกาะมอญ)

โป่งยุบ

โป่งยุบ จากถ้ำจอมพล มุ่งสู่เขตอำเภอสวนผึ้ง อีก ๒๙ กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวซ้าย สู่ตำบลท่าเคย ซั่งจะมีแผ่นดิน ยุบ ทำให้เกิดลักษณะหน้าผาสูงชัน หรือเป็นเขาดิน คล้ายกับแพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ มีอาณาบริเวณกว่า ๑๐ ไร่

น้ำตกผาแดง

น้ำตกผาแดง
เช้าวันนั้นต้องถือว่าฟ้าฝนเป็นใจพอสมควรที่ส่งพระอาทิตยืดวงกลมแดงมาให้เราชื่นชมพร้อมทะเลหมอกจางๆที่ลอยฟ่องขาวฟูในหุบเขาเบื้องล่างจากยอดเขากระโจม ขากลับ ขาลง เราไม่พลาดที่จะแวะชม“น้ำตกผาแดง” ระหว่างทาง ที่ต้องเดินเท้าแบบไม่ยากลำบากเข้าไปประมาณ 200 เมตร ก่อนจะพบกับสายน้ำตกขนาดกลางไหลผ่านหน้าผาหินสีแดง อันเป็นที่มาของชื่อ“น้ำตกผาแดง”ที่หน้าฝนอย่างนี้ นอกจากต้นไม้ใหญ่น้อยรอบข้างจะร่มรื่นเขียวครึ้มแล้ว ยังมีสายน้ำไหลหลากมากมายเป็นพิเศษ อ้อ!?! แต่ถึงแม้น้ำตกผาแดงช่วงนี้จะสวยงามน่ายล แต่ว่าการเดินเท้าเข้าไปก็ต้องระวังเจ้าทาก สัตว์จอมดูดเลือดให้ดีๆเหมือนกัน เพราะที่นี่ทากเยอะไปเบา

เขากระโจม


พระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขากระโจม
เหตุที่ต้องนั่งรถขับเคลื่อน 4 ล้อขึ้น ก็เนื่องจากว่าเว้นทางขึ้นเขากระโจมนั้นสูงชันและสมบุกสมบันเอาเรื่อง(แต่ทิวทัศน์ก็สวยงามเอาเรื่อง) โดยเฉพาะช่วงที่เป็นถนนลูกรังนี่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง แถมบางช่วงยังต้องลุยน้ำที่สูงถึงครึ่งคันรถ ก่อนจะไปลุ้นกันกับเนินสูงยาวที่พลขับของเรานั้นกว่าจะผ่านพ้นเนินแห่งนี้ไปได้ก็เหนื่อยพอตัว ส่วน”ผู้จัดการท่องเที่ยว” กับพี่สุเทพแม้จะเป็นผู้โดยสาร(ยืนกระบะหลัง)แต่ว่าก็ลุ้นกันเหนื่อยอยู่เหมือนกัน สุดท้ายเราก็มาถึงยังเนินสุดท้ายที่ถนนชันมากแถมช่วงหน้าฝนอย่างนี้ถนนค่อนข้างเละ เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะต่อการขับรถขึ้นเขาด้วยประการทั้งปวง แม้จะเป็นโฟร์วีลก็ตาม

ทะเลหมอกจางๆบนยอดเขากระโจม
งานนี้พวกเราจึงต้องลงเดินขึ้นสู่ยอดเขากันในระยะทางประมาณ 100 เมตร ที่พอขึ้นไปถึงบนนั้นความเหนื่อยหายไปเป็นปลิดทิ้ง แถมยังถูกแทนที่ด้วยสายลมแรงๆที่พัดกระโชกให้ร่างกายเหน็บหนาวอยู่อย่างต่อเนื่อง ณ บนยอดเขากระโจมหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“เนิน 1000” มีป้ายติดหราบอกไว้ว่านี่คือพื้นที่ “สุดเขตประเทศไทย ภาคตะวันตก”เป็นที่ตั้งของกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.137) ซึ่งด้านหน้าคือเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งประเทศพม่าที่แนวรบด้านนี้สงบนิ่งไม่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเหมือนแนวรบฝั่งไทย-กัมพูชา สำหรับบนยอดเขากระโจม ไม่เพียงเป็นที่ตั้งของฐานตชด.เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดกลางเต็นท์ของนักท่องเที่ยวผู้ที่ชื่นชอบในธรรมชาติอีกด้วย ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของยอดเขากระโจมก็คือที่นี่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกชั้นดี รวมถึงเป็นจุดชมทะเลหมอกใกล้กรุง ที่วันไหนฟ้าฝนเป็นใจ ทิวทัศน์ยามเช้า-เย็น และทะเลหมอกบนยอดเขากระโจมจะดูสวยงามมาก