วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประวัติจังหวัดราชบุรี

จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง " เมืองพระราชา"
ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษา และขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ใน บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรีพระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญ
และ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัยดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทาง
ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี
ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อแก่นจันทร์


อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อแก่นจันทร์ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร วัสดุตั้งแต่พระเศียรลงมาจนถึงพระอังสะหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ช่วงล่างทำจากไม้แก่นจันทร์ สูง ๒.๒๖ เมตร (๕ ศอก)ศิลปะอยุธยาสร้างขึ้นจากไม้แกะสลัก โดยกล่าวกัน ว่ามีชายคนหนึ่งเข้าไปในป่าแล้วถูกเสือไล่กัด หนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ใหญ่ เสือเฝ้าอยู่ที่โคนต้นไม้ ชายคนนั้นไม่กล้าลงจึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า "ถ้ารอดพ้นจากอันตรายถูกเสือกัดในครั้งนี้ จะนำเอาต้นไม้ที่ได้อาศัยอยู่นี้ไปแกะเป็นพระพุทธปฏิมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา" เมื่ออธิษฐานแล้วปรากฏว่าเสือหายไป จึงลงจากต้นไม้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ต่อมาชักชวนชาวบ้านไปตัดต้นไม้เพื่อนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป เมื่อได้พิจารณาดูเนื้อไม้ก็ทราบว่าเป็นไม้จันทร์หอมที่หายากและมีราคา ได้พาช่างผู้มีฝีมือมาแกะสลัก และประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวงเพื่อให้คนได้เคารพกราบไหว้ อีกประวัติหนึ่งกล่าวว่า หลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยน้ำมา สันนิษฐานว่าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมมาถึงบ้านแก่งหลวง ได้พัดพาเอาหลวงพ่อแก่นจันทร์ลอยตามลำน้ำจนถึงวัดช่องลม ท่านได้ลอยมาวนอยู่ที่หน้าวัด ไม่ยอมไหลไปตามสายน้ำซึ่งกำลังไหลเชี่ยว เจ้าอาวาสวัดช่องลมในสมัยนั้นได้บอกให้พระสงฆ์และประชาชนมาช่วยกัน กล่าวอัญเชิญชะลอองค์พระท่านขึ้นมาจากแม่น้ำ ประดิษฐานไว้ในวัดช่องลมและได้ทำพิธีสมโภชในเวลาต่อมา และทุกๆ ปีจะมีพิธีแห่หลวงพ่อแก่นจันทร์รอบตลาดในวันสงกรานต์ และในวันตรุษจีนจะมีงานประจำปีสักการะองค์หลวงพ่อแก่นจันทร์

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ข้อมูล
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี อยู่ในบริเวณบ้านพักทหารช่างราชบุรี ค่ายภาณุรังษี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรีปัจจุบันลักษณะเด่น เป็นหลักเมืองเก่าที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิมที่เคยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกไปตั้งที่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก เพื่อให้ปลอดภัยจากการรุกราน และป้งอกันข้าศึกได้โดยง่ายกิจกรรม เปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการะทุกวัน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ กรมการทหารช่าง โทร. 0-3233-7388, 0-3233-7811
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี และอยู่ตรงข้ามกับค่ายภาณุรังษี

วัดเกาะศาลพระ

วัดเกาะศาลพระเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของตำบลเกาะศาลาพระมีโบสถ์เก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี นับเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของตำบลเกาะศาลพระ ปัจจุบันไม่สามารถใช้การได้ทางวัดจึงได้สร้างโบสถขึ้นมาใหม่ มีลักษณะสวยงามมาก วัดนี้ตั้งอยู่ หมู่8 ต.เกาะศาลพระ (บ้านเกาะมอญ)

โป่งยุบ

โป่งยุบ จากถ้ำจอมพล มุ่งสู่เขตอำเภอสวนผึ้ง อีก ๒๙ กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวซ้าย สู่ตำบลท่าเคย ซั่งจะมีแผ่นดิน ยุบ ทำให้เกิดลักษณะหน้าผาสูงชัน หรือเป็นเขาดิน คล้ายกับแพะเมืองผี ที่จังหวัดแพร่ มีอาณาบริเวณกว่า ๑๐ ไร่

น้ำตกผาแดง

น้ำตกผาแดง
เช้าวันนั้นต้องถือว่าฟ้าฝนเป็นใจพอสมควรที่ส่งพระอาทิตยืดวงกลมแดงมาให้เราชื่นชมพร้อมทะเลหมอกจางๆที่ลอยฟ่องขาวฟูในหุบเขาเบื้องล่างจากยอดเขากระโจม ขากลับ ขาลง เราไม่พลาดที่จะแวะชม“น้ำตกผาแดง” ระหว่างทาง ที่ต้องเดินเท้าแบบไม่ยากลำบากเข้าไปประมาณ 200 เมตร ก่อนจะพบกับสายน้ำตกขนาดกลางไหลผ่านหน้าผาหินสีแดง อันเป็นที่มาของชื่อ“น้ำตกผาแดง”ที่หน้าฝนอย่างนี้ นอกจากต้นไม้ใหญ่น้อยรอบข้างจะร่มรื่นเขียวครึ้มแล้ว ยังมีสายน้ำไหลหลากมากมายเป็นพิเศษ อ้อ!?! แต่ถึงแม้น้ำตกผาแดงช่วงนี้จะสวยงามน่ายล แต่ว่าการเดินเท้าเข้าไปก็ต้องระวังเจ้าทาก สัตว์จอมดูดเลือดให้ดีๆเหมือนกัน เพราะที่นี่ทากเยอะไปเบา

เขากระโจม


พระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขากระโจม
เหตุที่ต้องนั่งรถขับเคลื่อน 4 ล้อขึ้น ก็เนื่องจากว่าเว้นทางขึ้นเขากระโจมนั้นสูงชันและสมบุกสมบันเอาเรื่อง(แต่ทิวทัศน์ก็สวยงามเอาเรื่อง) โดยเฉพาะช่วงที่เป็นถนนลูกรังนี่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง แถมบางช่วงยังต้องลุยน้ำที่สูงถึงครึ่งคันรถ ก่อนจะไปลุ้นกันกับเนินสูงยาวที่พลขับของเรานั้นกว่าจะผ่านพ้นเนินแห่งนี้ไปได้ก็เหนื่อยพอตัว ส่วน”ผู้จัดการท่องเที่ยว” กับพี่สุเทพแม้จะเป็นผู้โดยสาร(ยืนกระบะหลัง)แต่ว่าก็ลุ้นกันเหนื่อยอยู่เหมือนกัน สุดท้ายเราก็มาถึงยังเนินสุดท้ายที่ถนนชันมากแถมช่วงหน้าฝนอย่างนี้ถนนค่อนข้างเละ เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะต่อการขับรถขึ้นเขาด้วยประการทั้งปวง แม้จะเป็นโฟร์วีลก็ตาม

ทะเลหมอกจางๆบนยอดเขากระโจม
งานนี้พวกเราจึงต้องลงเดินขึ้นสู่ยอดเขากันในระยะทางประมาณ 100 เมตร ที่พอขึ้นไปถึงบนนั้นความเหนื่อยหายไปเป็นปลิดทิ้ง แถมยังถูกแทนที่ด้วยสายลมแรงๆที่พัดกระโชกให้ร่างกายเหน็บหนาวอยู่อย่างต่อเนื่อง ณ บนยอดเขากระโจมหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“เนิน 1000” มีป้ายติดหราบอกไว้ว่านี่คือพื้นที่ “สุดเขตประเทศไทย ภาคตะวันตก”เป็นที่ตั้งของกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.137) ซึ่งด้านหน้าคือเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งประเทศพม่าที่แนวรบด้านนี้สงบนิ่งไม่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเหมือนแนวรบฝั่งไทย-กัมพูชา สำหรับบนยอดเขากระโจม ไม่เพียงเป็นที่ตั้งของฐานตชด.เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดกลางเต็นท์ของนักท่องเที่ยวผู้ที่ชื่นชอบในธรรมชาติอีกด้วย ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของยอดเขากระโจมก็คือที่นี่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกชั้นดี รวมถึงเป็นจุดชมทะเลหมอกใกล้กรุง ที่วันไหนฟ้าฝนเป็นใจ ทิวทัศน์ยามเช้า-เย็น และทะเลหมอกบนยอดเขากระโจมจะดูสวยงามมาก

ความเป็นมาของโครงการอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามเกิดขึ้น จากความตั้งใจ และความคิดของท่านผู้ก่อตั้งซึ่งมีรากฐานการเริ่มต้นของงานมาจากงานหล่อพระพุทธรูป งานหล่อประติมากรรมรูปต่างๆ นับจากอดีตจนสู่ปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำให้ผู้ก่อตั้งมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมรูปเหมือน ของพระสงฆ์รูปต่างๆ ซึ่งจำพรรษาในกุฏิ และรูปเหมือนบุคคลสำคัญต่างๆที่ท่านผู้ก่อตั้ง มีความศรัทธายกย่อง ในด้าน แนวความคิด ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ รวมทั้งรูปเหมือน วิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นไทย ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงได้เริ่มก่อตั้ง โครงการอุทยาน หุ่นขี้ผึ้งสยามขึ้นมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ และด้วยความ มุ่งมั่น ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ จากความเชื่อมั่น ในคำสอน เรื่องทำความดี ความศรัทธาในบุคคล กำลังใจจากครูอาจารย์ เพื่อนมิตรและครอบครัว ทำให้โครงการ อุทยานหุ่นขี้ผึ้ง ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะนำเสนอ งานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสืบทอด สิ่งดีงามเอกลักษณ์ ของไทยให้คงอยู่สืบต่อชนรุ่นหลัง.

The Inspiration for Siam Cultural ParkSiam Cultural Park was initiated by a group of people who specialized in making Buddha images and had exceptional backgrounds and strong experience in sculpture and molding works. The experience they gained in over 40 years of working in molding and sculpture inspired them to have the greater ambition to create realistic wax statues of monks and other important and successful people who are respected by the Thai people. They also wanted to create a waxwork zone showing the lifestyle of Thai people in each region in the past. The Siam Cultural Park was established in 1997 out of the founders’ ambition to generate creative works and their dedication to do good things. Their faithfulness in other people and the encouragement they received from teachers, gurus, friends and family were the fundamental source of success of the Siam Cultural Park project. The park is intended to present creative artworks reflecting Thai culture and ways of life from the past until the present for the next generations to learn about the uniqueness of Thai culture.
เพื่อวัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจ
๒. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน
๓. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
๔. เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน
๕. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

Objectives
1. To be a recreational place of mind
2. To be an educational tourism destination
3. To help people understand and appreciate the traditional way of life
4. To promote knowledge of Buddhism5. To maintain traditional Thai art and culture

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม


ถ้ำชาดก
เรื่องพระเวสสันดร ตอนชูชกสองกุมาร ภายในถ้ำเป็นการแสดงหุ่น ที่เล่าเรื่องราวของ พระเวสสันดร ที่ได้บำเพ็ญเพียรทานบารมี เป็นเรื่องที่มี คติธรรม ที่สอนในเรื่อง ของการให้ ระหว่างพระเวสสันดร ผู้เสียสละโดยเป็นผู้ให้ และชูชกเป็นฝ่ายรับ และไม่รู้จักคำว่าพอ ชูชก มีอาชีพ ขอทานจนร่ำรวย แต่ก็ยังคงออกขอทานต่อไป เพราะไม่รู้จักพอ จึงนำเงินไปฝากไว้ ที่เพื่อน เพราะกลัวเงิน จะสูญ หาย ชูชกออกขอทาน เป็นเวลานานจนเพื่อนคิดว่า เสียชีวิตแล้วจึงนำเงินไปใช้จนหมด จึงต้องยก อมิตดา ให้เป็นภรรยาชูชก เป็นการใช้หนี้ อมิตดาปรนนิบัติชูชกเป็นอย่างดี จนทำให้ชูชกลุ่มหลงและสงสาร จึงเดินทางไป ขอกัณหา และชาลี เพื่อมาเป็น คนรับใช้ และพระเวสสันดรก็ยกบุตรทั้งสองให้ ตามคำขอของชูชก จากสิ่งที่ชูกชก กระทำขั้นต้น อันเนื่องมา จากความ ลุ่มหลง ความเจ้าเล่ห์และความโลภ ในที่สุดชูชกก็ต้องชดใช้ ผลแห่งการกระทำนั้น ด้วยชีวิต