วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

แก่งส้มแมว


ราชบุรี
ราชบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของประเทศ เชื่อกันว่าเป็นเมืองเก่ามาแต่ โบราณ ไม่มีเรื่องราวที่เป็นหลักฐานแน่นอนว่าสร้างมาในสมัยใด แต่ได้หลักฐานทางโบราณวัตถุ และ โบราณสถานที่มีอยู่ ซึ่งพอจะเชื่อถือได้ว่า ราชบุรีเป็นเมืองๆ หนึ่งในแคว้นสุวรรณภูมิ มีนครปฐมเป็น มหานครซึ่งเรียกว่า "ทวารวดี" ซึ่งเป็นของชนชาติละว้า ในสมัยก่อนศตวรรษที่ 5 จากตำนานทาง พุทธศาสนาเมื่อปี พ.ศ. 218 พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งประเทศอินเดียได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และได้เผยแพร่พุทธศาสนาสู่แคว้นสุวรรณภูมิ โดยสมณฑูต มีพระโสณะ และพระอุตระ เป็นหัวหน้า คณะมาโดยใช้นครปฐม เป็นเมืองหลักในการ เผยแพร่พุทธศาสนา ราชบุรีซึ่งเป็นแคว้นสุวรรณภูมิ หรือ ทวารวดี ตามการสันนิษฐานก็คงจะเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่ง ตัวเมืองราชบุรีได้มี การย้ายที่ตั้งเมืองมาหลายสมัย จนกระทั่งครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2440 ได้ย้ายเมืองมาตั้งยังที่เป็น ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน
-----------------------------------------------------------------
การปกครอง
จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 5,196 ตรกม. และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ดังนี้ คือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านโป่ง
-----------------------------------------------------------------
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดกาญจนบุรีทิศใต้ ติดต่อจังหวัดเพชรบุรีทิศตะวันตก ติดต่อสหภาพพม่า

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

ตลาดน้ำดำเนิน


ประวัติย่อๆของคลองดำเนินสะดวกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะขุดคลองเพื่อเชื่อมโยงแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน โดยผ่านท้องที่ต่างๆ ถึงสามจังหวัด โดยเริ่มจากประตูน้ำบางยาง แม่น้ำท่าจีน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านไปยังอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ไปเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลอง ที่ประตูน้ำบางนกแขวกอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อความสะดวกในการสัญจร ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๙ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปราสาทสิทธิ์ ซึ่งในกาลต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการในการขุดคลองครั้งนี้ เพื่อเชื่อมสามจังหวัดเข้าด้วยกัน ดังกล่าวในข้างต้น โดยใช้แรงงานเป็นลูกจ้างชาวจีน ขุดด้วยกำลังคนล้วนๆ ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ สิ้นงบประมาณเป็นเงิน ๑,๔๐๐ ชั่ง หรือ ๑๑๒,๐๐๐ บาท โดยมีขนาดกว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓๒ กิโลเมตร ทรงพระราชทานนามคลองนี้ว่า “คลองดำเนินสะดวก” อิอิอิ ถ้าใครมีโอกาสไปเยือนตลาดน้ำดำเนินสะดวก อย่าลืมอุดหนุน มะพร้าวน้ำหอมของป้าคนนี้ด้วยนะคะ อัธยาศัยป้าแกน่าประทับใจที่สุดในวันนั้นเลยอ้ะค่ะ